ข้อควรปฏิบัติในการเลือกทานอาหาร
ปริมาณไขมันที่รับประทานทั้งหมดต่อวันไม่ควรเกินร้อยละ 30
ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับ ต่อวัน ส่วนชนิดของไขมันนั้นควรเป็นไขมันอิ่มตัว
(ส่วนใหญ่เป็นไขมันจากสัตว์) และไม่อิ่มตัว (เช่น กรดลิโนเลอิก กรดลิโนเลนิก
ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็น) อย่างละเท่ากัน คือ ร้อยละ 10 ของพลังงาน
ทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน ควรจำกัดปริมาณโคเลสเตอรอล ไม่ให้เกินวันละ 300 มิลลิกรัม
น้ำตาลที่รับประทานกันโดยทั่วไป คือ น้ำตาลซูโครส เช่น น้ำตาลทราย
ซึ่งเมื่อย่อยสลายแล้ว จะให้กลูโคส และ ฟรักโตส
แม้ว่ากลูโคสมีความสำคัญต่อการทำงานของสมองก็ตาม การกินน้ำตาล
มากเกินไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย อาจนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวาน
ใยอาหาร คือ ส่วนของผนังเซลล์ของพืช ซึ่งน้ำย่อยในลำไส้ของมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้
แต่อาจถูกย่อยได้บ้างโดยแบคทีเรียซึ่งมีอยู่ตามปกติในลำไส้มนุษย์
อาหารที่ให้ใยอาหารได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าว จากการศึกษาวิจัยต่าง ๆ พบว่า
ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงเป็นเวลานาน
จะไม่ค่อยเกิดภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่มีโซเดียมมาก
จะมีความดันโลหิต สูงมากกว่าคนที่กินโซเดียมน้อย
ในทางปฏิบัติควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัด
อาหารที่ไหม้เกรียมจากการ ปิ้ง ย่าง
ซึ่งอาหารนั้นสัมผัสกับความร้อน (ไฟ) โดยตรง อาจจะมี สารเคมีบางชนิดเกิดขึ้น
โดยเฉพาะเมื่อน้ำมันที่หยดจากอาหารลงไปบนถ่านไฟที่ใช้ปิ้ง ย่าง และสาร
ที่เกิดขึ้นอาจกลับมาเกาะบนอาหารที่ย่าง เช่น
หมูปิ้งที่ย่างจนไหม้หรือเกรียมเกินไป เมื่อรับประทาน
เป็นประจำก็จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สีและสารเคมีที่ไม่ได้ระบุ ว่าสำหรับใช้ผสมอาหาร
ควรจำกัดปริมาณไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอล รับประทานผัก และผลไม้ให้มากขึ้น
สุราหรือเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์สูง
เมื่อดื่มเข้าไปจะถูกเผาผลาญให้พลังงานได้ (ส่วนหนึ่ง) ก็จริง
ตามหลักโภชนาการการดื่มแอลกอฮอล์ไม่ถือว่าเป็นแหล่งที่ดีของพลังงานสำหรับ ร่างกาย
ข้อมูลจากการศึกษาว่าผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำมักจะขาดสารอาหารหลายชนิด
นอกจากนี้ยังพบ ว่าผู้ที่ดื่มสุราเป็นระยะเวลานานจะมีผลทำให้เกิดมะเร็งที่คอ
ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ดื่มสุรามาก ๆ ลูกที่เกิดมาอาจมีความพิการได้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น